ม.อ. และ SCGJWD Logistics ร่วมลงนาม MOU เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อการลดการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์

  • Date : 28 มีนาคม พ.ศ.2567
  • Venue : อาคาร Me Space สาขา สยาม กรุงเทพมหานคร
  • Organizer : ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ บริษัท SCGJWD Logistics
  • More information : https://www.psu.ac.th/?page=news&news_code=1703

วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2567 ณ อาคาร Me Space สาขา สยาม กรุงเทพมหานคร ผศ.ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และ คุณบรรณ เกษมทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท SCGJWD Logistics ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อการลดการปล่อยคาร์บอนของ บริษัท SCGJWD Logistics และ อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทย ความร่วมมือในครั้งนี้จะดำเนินการภายใต้โครงการวิจัย “การขับเคลื่อนการลดการปล่อยคาร์บอนของบริษัท SCGJWD Logistics” ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จาก บพข. และ ร่วมสนับสนุนทุนวิจัยโดย บริษัท SCGJWD Logistics โดยมี รศ.ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยโครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำแผนที่นำทางและกลยุทธ์และขยายผลการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization roadmap and strategies adoption for supply chain network) ของบริษัทตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ 2) สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ในระดับนานาชาติ ( International logistics decarbonization network) และ 3) เตรียมความพร้อมของบริษัท SCGJWD Logistics ในการเข้าสู่การประเมินดัชนี Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านความความยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ของไทยในระดับนานาชาติ โดย SCGJWD Logistics จะเป็นบริษัทโลจิสติกส์รายแรกของประเทศที่เดินหน้าขับเคลื่อนการลดการปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) อย่างเต็มรูปแบบผ่านการดำเนินงานต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายใต้โครงการวิจัยนี้

== 𝐖𝐞 𝐚𝐢𝐦 𝐭𝐨 𝐭𝐮𝐫𝐧𝐢𝐧𝐠 𝐫𝐞𝐬𝐞𝐚𝐫𝐜𝐡 𝐢𝐧𝐭𝐨 𝐫𝐞𝐚𝐥-𝐰𝐨𝐫𝐥𝐝 𝐬𝐨𝐥𝐮𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬 ==

Photo Gallery :