การเข้าร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฎิบัติการ National Capacity Building Workshop on “Enhancing energy efficiency of the freight transport sector in Asia and the Pacific” จัดโดย UNESCAP และ National Polytechnic University of Armenia ณ เมือง Yerevan ประเทศ Armenia
- May 29, 2024
- 2:28 pm

- Date: 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
- Venue: National Polytechnic University of Armenia ณ เมือง Yerevan ประเทศ Armenia
- Organizer: UNESCAP และ National Polytechnic University of Armenia
รศ. ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฎิบัติการ National Capacity Building Workshop on “Enhancing energy efficiency of the freight transport sector in Asia and the Pacific” จัดโดย UNESCAP และ National Polytechnic University of Armenia ณ เมือง Yerevan ประเทศ Armenia
ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Enhancing energy efficiency of the freight transport sector in Asia and the Pacific ภายใต้การดำเนินงานของ United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP) – Transport Division ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) ของอุตสาหกรรมขนส่งสินค้า (Freight Transport) จากแนวทางต่างๆ เช่น การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift) และการใช้เทคโนโลยี (New technology) ด้านการขนส่งสินค้าเพื่อเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Framework) เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งสินค้าของประเทศในภูมิภาค Asia and the Pacific
ในการบรรยายครั้งนี้ รศ.ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต ได้บรรยาย ในหัวข้อ “Reducing carbon footprint in freight transportation: perspectives from ASEAN” ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการขนส่งสินค้าที่สูงถึง 8-10% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยทั้งหมดทั่วโลก (Global GHG Emissions) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยมีการประมาณการว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการขนส่งและโลจิสติกส์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 45% ภายในปี 2050 โดยเฉพาะจากการขนส่งทางถนน (Road Freight) ที่มีสัดส่วนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงที่สุด 67% ตามด้วยการขนส่งทางเรือ (Sea Freight) 21% ทางอากาศ (Air Freight) 5% ทางราง (Rail Freight) 5% และ ทางเรือชายฝั่ง (Inland Waterways) ประมาณ 2% ตามลำดับ ประกอบกับแรงกดดันจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดังนั้นอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์จึงจำเป็นต้องมีมาตรการและแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะแผนงานการขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) จากอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ
โดยในการบรรยายครั้งนี้ รศ.ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต ได้นำเสนอตัวอย่างของมาตรการและแนวทางการลดการปล่อย GHG Emissions ของอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศต่างๆ ใน ASEAN รวมถึง แผนงานของประเทศไทย Thailand Logistics and Transportation Sector Pathway to Net Zero Emissions จาก Thailand Roadmap and NDC Action Plan Transportation Sector 2021-2030 ในการลดก๊าซเรือนกระจกลง 20% (GHG Emissions Reduction) ในปี 2030 และเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ในปี 2065 โดยมีกลยุทธ์หลักๆ ประกอบด้วย Transport Demand Management, Modal Shift และ Improve Vehicle Efficiency ภายใต้กลไกการสนับสนุนระบบ GHG Emissions Measurement, Reporting, Verification (MRV) และ Regulation ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของอุตสาหกรรมในการทำงานร่วมกัน (Collaboration)
โดย รศ.ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต ได้สรุปการบรรยายและฝากประเด็นทิ้งท้ายไว้ว่าการลดก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์เป็นสิ่งจำเป็นที่เร่งด่วนและต้องอาศัยการทำงานร่วมกันจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (Stakeholder Collaboration) โดยเฉพาะภาครัฐในการสนับสนุนงบประมาณ เทคโนโลยี และ ผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่ Shipper สามารถ ผลักดันการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ผ่านไปยังผู้ให้บริการขนส่ง (Carrier and Logistics Service Providers) โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Mode of Transportation) ไปยังรูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นรวมถึงการปรับโครงสร้างของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Network) เพื่อการลดการขนส่งและการใช้พลังงาน
== 𝐖𝐞 𝐚𝐢𝐦 𝐭𝐨 𝐭𝐮𝐫𝐧𝐢𝐧𝐠 𝐫𝐞𝐬𝐞𝐚𝐫𝐜𝐡 𝐢𝐧𝐭𝐨 𝐫𝐞𝐚𝐥-𝐰𝐨𝐫𝐥𝐝 𝐬𝐨𝐥𝐮𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬 ==
Photo Gallery :