ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืนเข้าร่วมงาน LogiMAT-LogiSYM 2024 Cold Chain Thailand 2024
- October 18, 2024
- 10:46 am
- Date: 16-17 ตุลาคม พ.ศ. 2567
- Venue: BITEC บางนา กรุงเทพฯ
- Organizer: LogiMAT and LogiSYM
- Link Session Speaker: https://www.facebook.com/100088730731878/posts/540118165622537/?rdid=Qh9MiaJKkSU0u4ex
รศ. ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เข้าร่วมงาน LogiMAT-LogiSYM 2024 Cold Chain Thailand 2024 ณ BITEC บางนา กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม พ.ศ.2567 และ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “Driving Low-Carbon Transformation in Freight Transport: Measuring, Reducing and Optimizing Emissions” และ เสวนาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนจากภาคธุรกิจจากประเทศสิงคโปร์ ในหัวข้อ Operationalizing Sustainability in Thailand : What’s driving change and How to lead it.
ในช่วงการบรรยายในหัวข้อ “Driving Low-Carbon Transformation in Freight Transport: Measuring, Reducing and Optimizing Emissions” รศ ดร จรรยา ชาญชัยชูจิต ได้นำเสนอข้อมูลผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการขนส่งสินค้าที่สูงถึง 8-10% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยทั้งหมดทั่วโลก (Global GHG Emissions) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกโดยมีการประมาณการว่าปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการขนส่งและโลจิสติกส์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 45% ภายในปี 2050 โดยเฉพาะจากการขนส่งสินค้าทางถนน (Road Freight) ที่มีสัดส่วนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงที่สุด 67% ตามด้วยการขนส่งทางเรือ (Sea Freight) 21% ทางอากาศ (Air Freight) 5% ทางราง (Rail Freight) 5% และ ทางเรือชายฝั่ง (Inland Waterways) ประมาณ 2% ตามลำดับ ประกอบกับแรงกดดันจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์จึงจำเป็นต้องมีมาตรการและแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะแผนงานการขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) จากอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ นอกจากนี้ รศ ดร จรรยา ชาญชัยชูจิต ยังได้แนะนำมาตรฐาน ISO 14083:2023 Greenhouse Gases – Quantification and reporting of greenhouse gas emissions arising from transport chain operations และ GLEC ( Global Logistics Emissions Council ) Framework สำหรับการคำนวณการรายงานผลและการทวนสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งและกิจกรรมโลจิสติกส์ (Transport and Logistics Emissions Measurement Reporting and Verification) ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติรวมถึงกลยุทธ์และแนวทางต่างๆ ในการลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งและโลจิสติกส์ เช่น Load factor optimization, Network restructuring, Fleet renewal/optimization , Modal Switch และ Alternative fuel
ในส่วนของการเสวนาหัวข้อ Operationalizing Sustainability in Thailand : What’s driving change and How to lead it. มีผู้ร่วมสนทนา 3 ท่านดังนี้ 1) Mr. James Yin – CEO and Co-Founder V Plus Agri Tech Pte. Ltd, Singapore 2) Mr. Brett Marshall – Editor LogiSYM Magazine and Former Vice President Zuellig Pharma Singapore และ 3) รศ. ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี Ms. Stephanie Krishnan – Associate Vice President Manufacturing, Retail and Energy Insights IDC Asia Pacific เป็นผู้ดำเนินการสนทนา โดยประเด็นหลักในการเสวนา นี้จะพูดถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้ซัพพลายเชนในประเทศไทยมุ่งสู่ความยั่งยืน ทั้งประเด็นเรื่องกฎหมาย กฎระเบียบใหม่ๆ (Regulations) ความคาดหวังและความต้องการของผู้บริโภค (Customer Requirements) ที่เปลี่ยนไป และการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่กระตุ้นให้ธุรกิจต่างๆ ปรับใช้แนวทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งในอนาคตการลดการปล่อยคาร์บอนจะกลายเป็น KPI หลักขององค์กร ในการเสวนาผู้ร่วมเสวนาทุกท่านมีความเห็นตรงกันว่าการขับเคลื่อนความยั่งยืนขององค์กรต้องเริ่มที่ผู้นำ (Leadership) โดยผู้นำด้านความยั่งยืนในซัพพลายเชนต้องมีวิสัยทัศน์ระยะยาวสนับสนุนความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ยั่งยืน ในส่วนประเด็นด้านความท้าทาย (Challenges) ทั้งด้านค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นความซับซ้อนในซัพพลายเชนและการต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงอาจจะแก้ไขโดยเริ่มต้นด้วยโครงการนำร่องขนาดเล็ก (Sandbox) ก่อนแล้วค่อยขยายผลในขนาดที่ใหญ่ขึ้นสุดท้ายความร่วมมือกับพันธมิตร (Collaborations) ธุรกิจจำเป็นต้องร่วมมือกับซัพพลายเออร์และลูกค้าเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ในการเสวนานี้วิทยากรทุกท่านได้เน้นให้ผู้ร่วมงานเห็นความสำคัญของการดำเนินธุรกิจเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนในซัพพลายเชน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว (Long term Competitive Advantage)
== 𝐖𝐞 𝐚𝐢𝐦 𝐭𝐨 𝐭𝐮𝐫𝐧𝐢𝐧𝐠 𝐫𝐞𝐬𝐞𝐚𝐫𝐜𝐡 𝐢𝐧𝐭𝐨 𝐫𝐞𝐚𝐥-𝐰𝐨𝐫𝐥𝐝 𝐬𝐨𝐥𝐮𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬 ==