September 30, 2023
- September 30, 2023
- 7:53 am
Researcher:
- รศ.ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต – มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (หัวหน้าโครงการวิจัย)
Associate Prof. Dr. Janya Chanchaichujit – Prince of Songkla University (Project Leader) - Dr. Sreejith Balasubramanian- Middlesex University Dubai
Funded by:
- งบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund; FF) ประจำปี 2567 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Duration:
- ตุลาคม พ.ศ. 2566- กันยายน พ.ศ. 2566
Status: On-going
Abstract:
อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยประกอบกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่องค์กรต่างๆทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ในการทำธุรกิจ ดังนั้นการบริหารจัดการของธุรกิจนี้จึงต้องคำนึงถึงมิติทางสิ่งแวดล้อมควบคู่กับแนวทางการบริหารจัดการที่เดิมให้ความสำคัญเฉพาะประเด็นด้านการสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้แนวคิดกรีนโลจิสติกส์ (Green Logistics ) จึงมีบทบาทต่อกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจในการช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินงานลดลงไปด้วย สำหรับแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขนส่งสำหรับรถบรรทุกตามแนวคิดกรีนโลจิสติกส์สามารถดำเนินการได้หลายแนวทาง เช่น 1) การเลือกใช้พลังงานทางเลือก เช่น EV Truck แทนการใช้พลังงานจากฟอสซิล 2) การปรับปรุงประสิทธิภาพรถและการขับขี่ เช่น Eco Driving และ 3) การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่ง เช่น การใช้ระบบสารสนเทศในการวางแผนเส้นทางเดินรถเพื่อให้มีเส้นทางขนส่งที่สั้นที่สุด การเพิ่มความถี่ในการส่งมอบสินค้าเพื่อลดการจัดเก็บสินค้า และ หากลไกการสร้างความร่วมมือกับบริษัทอื่นๆในโซ่อุปทานเพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Sharing Platform) เช่นรถบรรทุก หรือ คลังสินค้า เพื่อช่วยในการลดการขนส่งเที่ยวเปล่า การลดปริมาณรถบรรทุกที่บรรทุกไม่เต็มคัน เป็นต้น จะเห็นว่าแนวทางเหล่านี้เป็นแนวทางที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดต้นทุนที่เป็นตัวแปรหลักของธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ลงได้ ตลอดจนเป็นการเพิ่มการใช้ทรัพยากรในการขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและทำให้สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากภาคการขนส่งอย่างลงได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “Every dollar saved through green logistics efforts is a dollar for profitability” (LOCUS, 2021) อย่างไรก็ตามปัจจุบันบริษัทขนส่งต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กยังขาดแรงจูงใจ (Motivation Readiness) ในการดำเนินการเนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ที่บริษัทจะได้รับ และที่สำคัญยังขาดเครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ (Carbon Footprint Calculation Tool) จากการดำเนินงานตามแนวคิด Green Logistics
จากปัญหาความท้าทายนี้จึงเป็นที่มาของโจทย์วิจัยของโครงการวิจัยนี้ในการพัฒนาระบบในการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carbon footprint ) และต้นทุน (Costs) จากการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งจากตามแนวคิด Green Logistics เพื่อให้บริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ใช้เป็นเครื่องมือในการคำนวณ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon footprint) และต้นทุน (Costs) จากกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทเพื่อใช้ในการตั้งเป้าหมายการลดกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัท (Target) และจัดทำ Carbon Emissions Reporting & Disclosure ของบริษัทในอนาคต
– สำหรับข้อมูลของโครงการสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รศ. ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต หัวหน้าโครงการ –