ผู้อำนวยการศูนย์ LogSys ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาแผนงานวิจัยโลจิสติกส์และระบบรางในหัวข้อ “ระบบโลจิสติกส์แห่งอนาคตเพิ่มประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนด้วยงานวิจัย” ในงาน Tilog Logistix 2023

  • Date : 18 สิงหาคม 2566 พ.ศ. 2566
  • Venue : ห้อง Nile 1 ไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร
  • Organizer : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) แผนงานวิจัยโลจิสติกส์และระบบราง
  • More information about the event : https://www.logsys-psu.com/wp-content/uploads/2023/08/Net-O-ThaiLog-1.pdf

     เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2566 รศ.ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมเสวนาแผนงานวิจัยโลจิสติกส์และระบบราง ในหัวข้อ “ระบบโลจิสติกส์แห่งอนาคตเพิ่มประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนด้วยงานวิจัย” จัดโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) แผนงานวิจัยโลจิสติกส์และระบบราง

     ในการเสวนาครั้งนี้ รศ.ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต ได้นำเสนอความท้าทายของประเด็นความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมที่ทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยให้ความสำคัญ (Global Agenda) ในแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions) เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ของไทยที่เป็นส่วนหนึ่งทั้งทางตรงและทางอ้อมในห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) และปัจจุบันประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมได้เป็นข้อกำหนดหรือกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการส่งออกของไทยที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของสินค้าเหล่านั้น เช่น มาตราการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรปที่ได้เริ่มแล้วในบางอุตสาหกรรมและจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี 2026 

      ซึ่งความท้าทายเหล่านี้เป็นที่มาของโครงการวิจัย โครงการพัฒนา Net Zero Emissions Execution Roadmap and Tools เพื่อขับเคลื่อนการเป็นผู้ให้บริการไปรษณีย์และโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งได้รับทุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ภาคธุรกิจเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนที่นำทาง (Roadmap) แผนปฏิบัติการ (Action Plan)  กลยุทธ์การดำเนินงาน (Strategies) ในการบริหารจัดการเพื่อลด GHG Emissions จากการดำเนินงานของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และจัดทำข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและคู่มือการจัดการก๊าซเรือนกระจกของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด รวมถึงพัฒนา Net Zero Emissions Digital Platform เพื่อเป็นเครื่องมือ (all-in-one tool) สำหรับการติดตามการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกและการรายงานผลการปล่อย GHG Emissions จากกิจกรรมการดำเนินงานตลอด Value Chain และนำไปสู่การเป็นโครงการต้นแบบ (Pioneer Project) ขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของอุตสาหกรรมไปรษณีย์ขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ของประเทศไทย และที่สำคัญคือการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทย

        ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการต่อผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ คือ การมีโครงการต้นแบบที่สามารถขยายผลการศึกษาไปใช้กับบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ของไทยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ของประเทศไทย

== We aim to turning research into real-world solutions ==

Photo Gallery: