ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน (LogSys) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม แผนงานโลจิสติกส์และระบบราง (บพข) ปณท และ KliK Foundation ร่วมประชุม เรื่อง Bilateral Agreement Thailand-Switzerland under the Article 6 of Paris Agreement สำหรับ Transport Sector

  • Date : 30 สิงหาคม 2566 พ.ศ. 2566
  • Venue : ห้องประชุม 4 ชั้น 2 อาคารบริหาร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
  • Organizer : ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ KliK Foundation
  • More information about the event :

       เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 รศ.ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน (LogSys) คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล ชยประเสริฐ ผู้อำนวยการแผนงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศไทย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้เข้าร่วมประชุมกับ Ms. Viky Jansens General Manager, KliK Foundation Southeast Asia (Foundation for Climate Protection and Carbon Offset KliK) เรื่อง Bilateral Agreement Thailand-Switzerland under the Article 6 of Paris Agreement สำหรับ Transport Sector เพื่อศึกษาความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีการใช้กลไกตลาดในรูปแบบทวิภาคีโดยสมัครใจในการใช้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ถ่ายโอนระหว่างประเทศ ( International Transferred Mitigation Outcomes – Carbon Credit equaling 1 tCO2e ) เพื่อการบรรลุเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDCs) ของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีการลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศไทยและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ว่าด้วยการดำเนินความร่วมมือภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส โดยมี KliK Foundation เป็นองค์กรเอกชนภายใต้รัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์ทำหน้าที่สนับสนุนเงินทุนแก่โครงการที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการขนส่งของประเทศไทยที่มีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านการใช้รถขนส่งไปเป็นรถไฟฟ้า (Electric Vehicle) เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการขนส่งขององค์กร ซึ่งเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการขับเคลื่อนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ขององค์กร ซึ่งการประชุมหารือในครั้งนี้เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนา Net Zero Emissions Execution Roadmap and Tools เพื่อขับเคลื่อนการเป็นผู้ให้บริการไปรษณีย์และโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่ ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน (LogSys) ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแผนงานพัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศไทย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 

== We aim to turning research into real-world solutions ==

Photo Gallery: