Technology for Decarbonization สำคัญอย่างไร ถ้าเราจะไปให้ถึงสังคมคาร์บอนต่ำ ?

  • Date: 11 กันยายน พ.ศ. 2567
  • Venue: ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
  • Organizer: บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด มหาชน
  • More information about the event: https://youtu.be/8vnGZ–B1nk?si=i5vMgR1WXMkRJu0N

      รศ.ดร จรรยา ชาญชัยชูจิต ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เข้าร่วม workshop pre-session สำหรับงาน ESG Symposium 2024 ในหัวข้อ นวัตกรรมเพื่อพลังงานสะอาดสู่อนาคตยั่งยืน (Technology for Decarbonization) เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายการผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทยและภูมิภาค ASEAN ในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น นโยบายทางกฎหมาย การสนับสนุนทางการเงิน เพื่อปลดล็อคข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดย pre-session ของหัวข้อนวัตกรรมเพื่อพลังงานสะอาดสู่อนาคตยั่งยืน (Technology for Decarbonization) ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อยในการระดมสมอง ดังนี้ 1) การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน (Accelerating Energy Transition with Innovation) 2) การพัฒนาการคมนาคมและขนส่งสีเขียวด้วยนวัตกรรม (Transforming Transport and Logistics with Innovation) และ 3) การเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมชีวพลังงานและเคมีจากชีวภาพ (Expanding Bio-Based Chemical and Fuels) โดยมี stakeholder ที่เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม โดยได้ข้อสรุปร่วมกันว่า Technology for Decarbonization จะเป็น Fast Track ที่สำคัญในการผลักดันการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Green transition) ให้เร็วขึ้น โดยในการเปลี่ยนผ่านนี้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการปลดล็อคข้อจำกัดทางกฎหมาย และ ความชัดเจนในนโยบายเพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด (Clear Regulations and Policies) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ( Infrastructure Development) ร่วมกับ การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Green Finance) และการสนับสนุนการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Adoption and Scale Up) และการพัฒนาความพร้อมของคนและแรงงานที่เกี่ยวข้อง (Capacity Building) โดยรายละเอียดข้อเสนอแนะจาก pre-session หัวข้อนวัตกรรมเพื่อพลังงานสะอาดสู่อนาคตยั่งยืน (Technology for Decarbonization) ได้ถูกรวบรวมและสรุปใน White Paper จากผู้จัดงาน (บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด มหาชน) ที่ได้ส่งมอบให้ท่านนายกรัฐมนตรีในงาน ESG Symposium 2024 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา

        ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พร้อมร่วมขับเคลื่อน Green Transition นี้ภายใต้โครงการวิจัยเรื่องการขับเคลื่อนการลดการปล่อยคาร์บอนของบริษัท SCGJWD Logistics ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ประจำปีงบประมาณ 2567 และมี บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทเอกชนผู้ร่วมทุนซึ่งผลลัพธ์จากงานวิจัยจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนและแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ 

== 𝐖𝐞 𝐚𝐢𝐦 𝐭𝐨 𝐭𝐮𝐫𝐧𝐢𝐧𝐠 𝐫𝐞𝐬𝐞𝐚𝐫𝐜𝐡 𝐢𝐧𝐭𝐨 𝐫𝐞𝐚𝐥-𝐰𝐨𝐫𝐥𝐝 𝐬𝐨𝐥𝐮𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬 ==