ESG Symposium 2024 Driving Inclusive Green Transition ยิ่ง “เร่งเปลี่ยน” ยิ่ง “เร่งโอกาส”
- October 1, 2024
- 8:37 am

- Date: 30 กันยายน พ.ศ. 2567
- Venue: ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร
- Organizer: บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด มหาชน
- Link Session Speaker: https://www.facebook.com/share/v/M7JPGw9eFSkxSaAi/
รศ.ดร จรรยา ชาญชัยชูจิต ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนาหัวข้อ “ปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทย – The Key Drivers for Inclusive Green Transition” ในงาน ESG Symposium 2024 Driving Inclusive Green Transition ยิ่ง “เร่งเปลี่ยน” ยิ่ง “เร่งโอกาส” เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์ สำหรับการเสวนาหัวข้อ “The Key Drivers for Inclusive Green Transition” ประกอบด้วยวิทยากรเสวนา 5 ท่านในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ 1. คุณ บัญชา เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี หัวข้อ Saraburi Sandbox โมเดลต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกของไทย 2. คุณ ปฏิญญา ศีลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ตตรา แพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด หัวข้อ Circular Economy การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้คุ้มค่าสูงสุด 3. คุณ แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย หัวข้อ Just Transition การสนับสนุนทรัพยากรให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ที่อยู่ในกระบวนการเปลี่ยนผ่าน 4. คุณ สุชัย กอประเสร็จศรี นายกสมาคมอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษไทย หัวข้อ Sustainable Packaging Value Chain การจัดการ Packaging ทั้งระบบอย่างยั่งยืน และ 5. รศ.ดร จรรยา ชาญชัยชูจิต ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวข้อ Technology for Decarbonization การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดย รศ.ดร จรรยา ชาญชัยชูจิต ได้กล่าวว่า Technology for Decarbonization จะเป็น Fast Track ที่สำคัญในการผลักดันการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Green transition) ให้เร็วขึ้น โดยในการเปลี่ยนผ่านนี้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการปลดล็อคข้อจำกัดทางกฎหมาย และ ความชัดเจนในนโยบายเพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด (Clear Regulations and Policies) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ( Infrastructure Development) ร่วมกับ การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Green Finance) และการสนับสนุนการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Adoption and Scale Up) และการพัฒนาความพร้อมของคนและแรงงานที่เกี่ยวข้อง (Capacity Building)
โดยรายละเอียดข้อเสนอแนะจากจากเวทีเสวนา และ การระดมสมองในการเตรียมงานช่วง pre-session ต่างๆ ได้ถูกรวบรวมและสรุปใน White Paper จากผู้จัดงาน (บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด มหาชน) และได้ส่งมอบให้ท่านนายกรัฐมนตรีในงาน ESG Symposium 2024 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา โดยมีข้อสรุปหลักๆ 4 ข้อ ดังนี้ 1. ปลดล็อคกฎหมาย เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ 2. ผลักดันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียว 3. พัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว 4. สนับสนุน SMEs เพื่อเสริมสร้างสักยภาพการแข่งขัน เพื่อมุ่งเปลี่ยนผ่านสู่ “พลังงานสะอาด” และ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยใช้สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ เป็น พื้นที่ทดลอง
ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พร้อมร่วมขับเคลื่อน Green Transition นี้ภายใต้โครงการวิจัยเรื่องการขับเคลื่อนการลดการปล่อยคาร์บอนของบริษัท SCGJWD Logistics ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ประจำปีงบประมาณ 2567 และมี บริษัท เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทเอกชนผู้ร่วมทุนซึ่งผลลัพธ์จากงานวิจัยจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนและแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ – Driving Inclusive Green Transition ยิ่ง “เร่งเปลี่ยน” ยิ่ง “เร่งโอกาส”-
สามารถรับชม live ย้อนหลัง หัวข้อ “The Key Drivers for Inclusive Green Transition” ปัจจัยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทย ได้ในเวลาประมาณ 3.11.00 ได้ที่ https://www.facebook.com/share/v/M7JPGw9eFSkxSaAi/
== 𝐖𝐞 𝐚𝐢𝐦 𝐭𝐨 𝐭𝐮𝐫𝐧𝐢𝐧𝐠 𝐫𝐞𝐬𝐞𝐚𝐫𝐜𝐡 𝐢𝐧𝐭𝐨 𝐫𝐞𝐚𝐥-𝐰𝐨𝐫𝐥𝐝 𝐬𝐨𝐥𝐮𝐭𝐢𝐨𝐧𝐬 ==